จากครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงประวัติของ Fibonacci และความเป็นมาของตัวเลขชุด Fibonacci Numbers ไปแล้ว ทำให้เราได้อัตราส่วนทองคำหรือ Golden Ratio มาที่ 61.8% และ 38.2% ทีนี้เราลองมาดูกันว่าอัตราส่วนทองคำนี้จะสามารถประยุกต์ใช้กับกราฟราคาหุ้นได้อย่างไร ติดตามดูตัวอย่างกันในเรื่อง...
Fibonacci Retracement
เว็บไซต์ Investopedia ได้ให้คำจำกัดความของ Fibonacci Retracement ไว้ว่าเป็นคำที่ใช้อ้างถึงแนวรับหรือแนวต้านของสินทรัพย์ทางการเงิน (ในที่นี้หมายถึงราคาหุ้น) ตัว Fibonacci Retracement นี้ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยตัวมันจะแสดงเส้นแนวนอนที่บอกแนวรับแนวต้านตามระดับอัตราส่วนที่สำคัญๆ ของ Fibonacci ได้แก่ 23.6% 38.2% 50% 61.8% และ 100% โดยที่เราสามารถสร้างระดับต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วนี้ได้โดยการลากเส้นจากจุดสูงสุดไปยังจุดต่ำสุดของราคาหุ้น (หรือลากจากต่ำสุดไปสูงสุดก็ได้) ดังภาพ
วงกลมสีเขียวๆ คือจุดที่ใช้สำหรับกำหนดระยะของ Fibonacci Retracement (จุดต่ำสุด/สูงสุด ในช่วงที่เราสนใจ) เมื่อกำหนดจุดได้แล้ว Fibonacci Retracement ก็จะแบ่งส่วนที่เรากำหนดออกเป็นส่วนๆ ตามค่า Fibonacci ให้ลองสังเกตดูตามลูกศรสีเหลืองนะครับ ว่าที่ระดับเส้นต่างกันของ Fibonacci นั้น เกิดอะไรขึ้นกับราคาบ้าง
จากนั้นเราลองมาสังเกตดูอีกหนึ่งตัวอย่างกันนะครับ
จนถึงบัดนี้ เราก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า อัตราส่วนต่างๆ ของ Fibonacci ทำไมถึงได้มีความสำคัญกับราคาหุ้นได้ถึงขนาดนี้ ไม่เพียงเท่านั้น อัตราส่วนเหล่านี้ก็ยังปรากฎอยู่ในธรรมชาติทั่วๆ ไปดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในตอนที่ 1 อีกด้วย
บ่อยครั้งที่เราสามารถใช้แนวรับแนวต้านต่างๆ ที่เราได้จาก Fibonacci Retracement ในการคาดการณ์จุดกลับตัวของราคาหุ้น โดยที่ทิศทางของหุ้น (ขาขึ้น/ขาลง) มักจะมีแนวโน้มที่จะไปต่อหากราคาได้ย่อตัวลงมาถึงแนวรับต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
ทั้งนี้ โปรดระลึกไว้เสมอว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน แนวรับแนวต้านที่ได้จาก Fibonacci ก็เป็นเพียงการคาดการณ์ในอนาคตเท่านั้น ซึ่งคำว่า "มักจะ" ไม่ได้หมายความว่ามันแน่นอน 100% นะครับ ดังนั้น โปรดบริหารเงินของท่าน บริหารความเสี่ยงที่รับได้ และบริหารจิตใจให้เข้มแข็งมีวินัย
ขอสติและสตางค์จงอยู่กับนักลงทุนทุกท่านครับ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า นะคร๊าบบบบ
ขอบคุณครับ เขียนบทความได้เข้าใจ กระชับดีมากเลย
ReplyDeleteขอบคุณคร๊าบบบบ :)
Delete